การเรียกให้เป็นเหมือนพระคริสต์

การเรียกให้เป็นเหมือนพระคริสต์

ในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลตลอดทุกยุคทุกสมัย เมื่อสภาพบางอย่างเป็นบาปมาก เกินไปหรือสังคมเป็นฝ่ายโลกมากเกินไป หรือชีวิตที่คนต่างชาติเริ่มทำลายมาตรฐาน ทางศีลธรรมและพระบัญญัติที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้ ลูกหลานแห่งพันธสัญญาจะ ได้รับคำ สั่งให้หลบหนีเข้าไปในแดนทุรกันดารเพื่อสถาปนาไซอันและเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด อีกครั้ง
ในสมัยพันธสัญญาเดิม อับราฮัมบิดาแห่งพันธสัญญาต้องหลบหนีเอาชีวิตรอดจากชาว เคลเดีย—แท้จริงแล้วคือชาวบาบิโลน—ไปแสวงหาชีวิตศักดิ์สิทธิ์ในคานาอัน ซึ่งปัจจุบันเรา เรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (ดู อับราฮัม 2:3–4) แต่อยู่ได้ไม่กี่รุ่นลูกหลานของอับราฮัมก็สูญเสีย ไซอันของพวกเขาและตกเป็นทาสในอียิปต์ดินแดนห่างไกลของคนนอกศาสนา (ดู อพยพ 1:7–14) พระองค์จึงทรงยกโมเสสขึ้นนำ ลูกหลานแห่งพระสัญญาไปในแดนทุรกันดารอีกครั้ง ไม่กี่ศตวรรษต่อมา เรื่องราวที่เราสนใจเป็นพิเศษเกิดขึ้นเมื่อชาวอิสราเอลครอบครัวหนึ่ง ซึ่งนำ โดยศาสดาพยากรณ์ท่านหนึ่งชื่อลีไฮ ได้รับบัญชาให้หนีออกจากเยรูซาเล็มเพราะอนิจจา บาบิโลนเข้ามายึดครองอีกครั้ง! (ดู 1 นีไฟ 2:2) คนเหล่านั้นไม่รู้เลยว่าพวกเขากำลังจะไปสู่ ทวีปใหม่เพื่อสถาปนาแนวคิดใหม่ทั้งหมดเกี่ยวกับไซอัน (ดู 1 นีไฟ 18:22–24) พวกเขาไม่รู้ แม้แต่น้อยว่าเหตุการณ์นั้นเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับบรรพชนของพวกเขาที่เรียกว่าชาวเจเร็ด (ดู อีเธอร์ 6:5–13)


ทุกคนที่ยกย่องสรรเสริญการฟื้นฟูพระกิตติคุณล้วนให้ความ สนใจตรงที่การตั้งอาณานิคมอเมริกาถือกำเนิดจากคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งหนีจากบ้านเกิดเมืองนอนเพื่อจะได้นมัสการตามที่พวกเขา ปรารถนา นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงด้านการตั้งถิ่นฐานของกลุ่ม พิวริตันในอเมริกาอธิบายประสบการณ์นี้ว่าเป็น “กิจมุ่งสู่แดน ทุรกันดาร” ของชาวคริสต์—ความพยายามของชาวอิสราเอลยุค ปัจจุบันในการปลดปล่อยตนเองจากการไร้พระผู้เป็นเจ้าของโลก เก่าและแสวงหาวิถีแห่งสวรรค์อีกครั้งในแผ่นดินใหม่1

ข้าพเจ้าขอให้ท่านนึกถึงการหนีครั้งสุดท้าย การหนีของศาสนจักรของเราเอง ซึ่งนำ โดยศาสดาพยากรณ์ของเราเอง นำโดยบรรพชน ผู้เลื่อมใสศาสนาของเราเอง เนื่องด้วยโจเซฟ สมิธถูกไล่ล่าจาก รัฐนิวยอร์ก เพนซิลเวเนีย โอไฮโอ มิสซูรี และในที่สุดถูกกระทำฆาตกรรมในอิลลินอยส์ เราจึงเห็นลูกหลานอิสราเอลในยุคสุดท้าย แสวงหาสถานที่สันโดษอีกครั้ง ประธานบริคัม ยังก์ (1801–1877) โมเสสชาวอเมริกันตามที่คนทั้งหลายเรียกขานท่านอย่างชื่นชม นำวิสุทธิชนไปหุบเขาแห่งเทือกเขาดังที่วิสุทธิชนผู้เหนื่อยอ่อนจาก การเดินเท้าร้องว่า เราจะพบแหล่งที่พระเป็นเจ้าเตรียมไว้ ไกลไปทางตะวันตก ที่ไม่มีใครทำให้กลัวหรือทำร้าย เราจะรับพรสุขศรี 2

ไซอัน แผ่นดินที่สัญญาไว้ เยรูซาเล็มใหม่ นี่เป็นแบบแผนมา นานกว่า 4,000 ปีของประวัติศาสตร์แห่งพันธสัญญา: หลบหนี และแสวงหา วิ่งและตั้งถิ่นฐาน หนีจากบาบิโลน สร้างกำแพง ป้องกันไซอัน จนถึงเวลานี้ ยุคสมัยของเรา

สร้างไซอันในที่ที่ท่านอยู่

สร้างไซอันในที่ที่ท่านอยู่

ลักษณะพิเศษสุดประการหนึ่งของสมัยการประทานของเราคือ ลักษณะที่เปลี่ยนไปของวิธีสถาปนาอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้า บนแผ่นดินโลก สมัยการประทานนี้เป็นเวลาของการเปลี่ยนแปลง ขนานใหญ่ที่เร่งทวีความเร็ว สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปคือศาสนจักรของ พระผู้เป็นเจ้าจะไม่มีวันหนีอีก จะไม่มีวันออกจากเออร์เพื่อออก จากฮาราน เพื่อออกจากคานาอัน เพื่อออกจากเยรูซาเล็ม เพื่อออก จากอังกฤษ เพื่อออกจากเคิร์ทแลนด์ เพื่อออกจากนอวู เพื่อไปแห่ง หนใดใครรู้อีกต่อไป

ไม่ ตามที่บริคัม ยังก์กล่าวกับเราทุกคน “เราถูกเขี่ยออกจาก กระทะไปอยู่ในกองไฟ ออกจากกองไฟไปอยู่กลางพื้น จนเรามา อยู่ที่นี่และเราจะอยู่ตรงนี้”3

แน่นอนว่า ถ้อยคำ ดังกล่าวกลายเป็นคำ กล่าวสำหรับสมาชิก ศาสนจักรทั่วโลก ในวันเวลาสุดท้ายนี้ ในสมัยการประทานของเรา เราเติบใหญ่พอที่จะหยุดวิ่ง เราเติบใหญ่พอที่จะยืนปักหลักสร้าง ครอบครัวและรากฐานของเราให้มั่นคงในทุกประชาชาติ ตระกูล ภาษา และผู้คน อย่างถาวร ไซอันดำรงอยู่ทุกหนแห่ง—ไม่ว่า ศาสนจักรอยู่ที่ใด โดยการเปลี่ยนแปลงนั้น เราจะไม่คิดอีกต่อ ไปว่าไซอันเป็น สถานที่ ซึ่งเราจะอยู่ แต่เราคิดว่าเป็น วิธี ที่เราจะดำเนินชีวิต

เพื่ออธิบายภารกิจใหม่นี้ ข้าพเจ้าจะพูดถึงเหตุการณ์สามเรื่อง

เหตุการณ์สามเรื่องและบทเรียนสามบท 

เหตุการณ์สามเรื่องและบทเรียนสามบท 

1. เมื่อสองสามปีก่อน เพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งของข้าพเจ้า—อดีต ผู้สอนศาสนา—ซึ่งอยู่ในทีมบาสเกตบอลของวิทยาลัยในยูทาห์ เขา เป็นชายหนุ่มที่ดีและเป็นนักบาสเกตบอลที่เก่งมาก แต่เขาไม่ได้ เล่นบ่อยเท่าที่หวังไว้ พรสวรรค์และทักษะพิเศษของเขาไม่ใช่สิ่งที่ ทีมต้องการในช่วงพัฒนาทีมหรือพัฒนาเขา นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ กีฬา ดังนั้น ด้วยความปรารถนาดีและการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ของครูฝึกกับเพื่อนร่วมทีม เพื่อนข้าพเจ้าจึงย้ายไปอีกโรงเรียนหนึ่ง ที่เขาหวังว่าเขาอาจทำประโยชน์ได้มากขึ้นเล็กน้อย

ทุกอย่างราบรื่นที่โรงเรียนใหม่ และไม่นานเพื่อนข้าพเจ้าก็ได้ เป็นผู้เปิดเกม ท่านรู้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น—กำหนดการแข่งขัน ของทีมทำให้ชายหนุ่มคนนี้ต้องกลับมาแข่งกับทีมเก่าของเขาใน ซอลท์เลคซิตี้

วาจาเจ็บแสบเผ็ดร้อนที่ผู้ชมระบายใส่ชายหนุ่มคนนี้ในคืนนั้น —ชายหนุ่มที่เพิ่งแต่งงาน จ่ายส่วนสิบ รับใช้ในโควรัมเอ็ลเดอร์บำเพ็ญประโยชน์ด้วยใจโอบอ้อมอารีต่อเยาวชนในชุมชนของเขา และรอคอยลูกน้อยที่จะเกิดมาอยู่ กับเขาและภรรยาอย่างตื่นเต้น—ไม่ ควรที่มนุษย์คนใดในทุกที่ทุกเวลาพึง ประสบ ไม่ว่าเขาจะเล่นกีฬาอะไรหรือ เรียนมหาวิทยาลัยใดก็ตาม หรือไม่ว่า การตัดสินใจส่วนตัวของเขาเกี่ยวกับ เรื่องเหล่านั้นจะเป็นอะไรก็ตาม

โค้ชของทีมเยือนทีมนี้ ผู้เป็นตำนานในอาชีพ หันมาพูดกับเขา หลังจากการแข่งขันอันน่าตื่นเต้นว่า “เกิดอะไรขึ้นที่นี่ คุณเป็นเด็ก เมืองนี้ที่ประสบความสำเร็จ นี่คือผู้คนของคุณ นี่คือเพื่อนของคุณ” แต่ที่เลวร้ายที่สุดคือเขาพูดต่อจากนั้นด้วยความฉงนสนเท่ห์ว่า “คนพวกนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่สมาชิกศาสนจักรของคุณหรอกหรือ”

2. ข้าพเจ้าได้รับเชิญไปพูดที่การให้ข้อคิดทางวิญญาณหนุ่ม สาวโสดสเตค ขณะเข้าทางประตูหลังของศูนย์สเตค หญิงสาวอายุ ราว 30 ปีคนหนึ่งเข้ามาในอาคารในเวลาใกล้เคียงกัน แม้จะอยู่ ท่ามกลางผู้คนที่เบียดเสียดกันเข้าไปในห้องนมัสการ แต่ก็สังเกต เห็นเธอได้ไม่ยาก เธอมีรอยสักสองสามที่ ใส่ต่างหูกับห่วงร้อย จมูกหลายแบบ ทำผมตั้งแต่งแต้มสีสันสารพัด กระโปรงสั้นเต่อ และเสื้อคอลึก

คำถามบางข้อเข้ามาในใจข้าพเจ้า: ผู้หญิงคนนี้คือจิตวิญญาณ ต่างศาสนาที่กำลังดิ้นรน และมีคนชักชวนเธอ—หรือยิ่งดีไปกว่า นั้น มีคนพาเธอมา—เพื่อร่วมการให้ข้อคิดทางวิญญาณครั้งนี้ภาย ใต้การนำ ทางของพระเจ้าเพื่อช่วยให้เธอพบสันติสุขและการชี้นำ ของพระกิตติคุณที่เธอต้องการในชีวิต? หรือเธอเป็นสมาชิกที่ หันเหจากความหวังและมาตรฐานบางอย่างที่ศาสนจักรกระตุ้น ให้สมาชิกปฏิบัติ แต่ยังคงแข็งขันอยู่บ้างและเลือกมาร่วมกิจกรรม ศาสนจักรในคืนนั้น?

3. ขณะเข้าร่วมพิธีอุทิศพระวิหารแคนซัสซิตี้ มิสซูรี ข้าพเจ้ากับ ซิสเตอร์ฮอลแลนด์พักอยู่กับบราเดอร์ไอแซค ฟรีสโตน ผู้มีอาชีพ เป็นตำรวจและเป็นมหาปุโรหิตในสเตคลิเบอร์ตี้ มิสซูรี ในการพูด คุยกัน เขาบอกเราว่ามีคืนหนึ่งเขาได้รับเรียกให้ไปตรวจสอบตาม คำร้องทุกข์ในย่านอันตรายเป็นพิเศษของเมือง ท่ามกลางเสียงเพลง อึกทึกและกลิ่นกัญชาในอากาศ เขาพบหญิงคนหนึ่งกับชายหลาย คนกำลังดื่มและพูดจาหยาบคาย ดูเหมือนไม่มีใครสนใจใยดีเด็ก เล็ก ๆ ห้าคน—อายุประมาณสองขวบถึงแปดขวบ—ที่เบียดกันอยู่ ในห้องๆ หนึ่งขณะพยายามนอนบนพื้นสกปรกโดยไม่มีเตียง ไม่มี ที่นอน ไม่มีหมอน ไม่มีอะไรเลย

บราเดอร์ฟรีสโตนมองดูในตู้กับข้าวและในตู้เย็นเผื่อจะพบ อาหารสักกระป๋องหรือสักกล่อง—แต่เขาไม่พบอะไรเลย เขาบอก ว่าสุนัขที่เห่าอยู่หลังบ้านมีอาหารมากกว่าเด็กเหล่านั้นเสียอีก

ในห้องนอนของผู้เป็นแม่เขาพบฟูกเปล่าหนึ่งหลัง เพียงหลัง เดียวในบ้าน เขาค้นจนพบผ้าปูที่นอนนำมาปูบนฟูก และพาเด็ก ทั้งห้าคนขึ้นนอนบนเตียงชั่วคราวที่ทำขึ้นเพื่อแก้ขัด จากนั้นด้วย น้ำตาคลอหน่วย เขาคุกเข่าสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์ขอให้ ทรงคุ้มครองเด็กเหล่านี้ และกล่าวราตรีสวัสดิ์

ขณะลุกเดินไปที่ประตู เด็กคนหนึ่งอายุราวหกขวบกระโดดลุก จากที่นอนวิ่งมาหาเขา คว้ามือเขามาจับไว้ และอ้อนวอนว่า “ได้ โปรด รับผมไปเลี้ยงได้ไหมครับ” บราเดอร์ฟรีสโตนน้ำ ตารื้นขึ้นมา อีก เขาพาเด็กคนนั้นเข้านอน ไปหาแม่ที่เมายา (พวกผู้ชายหนีไป นานแล้ว) และพูดกับเธอว่า “พรุ่งนี้ผมจะกลับมา แต่ก่อนผมจะ เดินเข้าประตูนี้ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง และจะ มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหลังจากนั้น คุณเชื่อผมได้”4

เหตุการณ์สามเรื่องนี้มีอะไรคล้ายกัน ทั้งสามเรื่องให้ตัวอย่าง ชีวิตจริงเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ต่างกันมากของบาบิโลน—เหตุการณ์ แรกเป็นพฤติกรรมโง่เขลาและน่ารันทดใจพอกันที่การแข่งขัน บาสเกตบอล เหตุการณ์ที่สองเป็นการท้าทายส่วนตัวทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นกับผู้ดำเนินชีวิตแตกต่างจากเรา และเหตุการณ์ที่สาม เป็นเรื่องใหญ่และร้ายแรงมาก

บทเรียนบทที่ 1: อย่าทิ้งศาสนาไว้ที่ประตู

บทเรียนบทที่ 1: อย่าทิ้งศาสนาไว้ที่ประตู

ก่อนอื่น เราจะพูดถึงเหตุการณ์บาสเกตบอลให้จบ หลังจาก วันแข่งขัน เมื่อมีการตอบสนองบางอย่างจากสาธารณชนและ เรียกร้องให้มีการขอโทษสำหรับเหตุการณ์นี้ ชายหนุ่มคนหนึ่ง พูดว่า “ฟังก่อน เรากำลังพูดถึงบาสเกตบอลอยู่นะครับ ไม่ใช่ โรงเรียนวันอาทิตย์ ถ้าคุณทนความร้อนไม่ได้ก็ออกจากห้อง ครัวไปซะ เราเสียเงินเยอะนะครับเพื่อมาดูการแข่งขันพวกนี้ เรา จะทำพฤติกรรมยังไงก็ได้ เราทิ้งศาสนาของเราไว้ที่ประตู”

“เราทิ้งศาสนาของเราไว้ที่ประตู” หรือไม่ บทเรียนบทที่หนึ่ง ของการสถาปนาไซอันในศตวรรษที่ 21 คือ ท่าน อย่า ทิ้งศาสนา ของท่านไว้ที่ประตูเด็ดขาด

ท่านไม่สามารถเป็นสานุศิษย์แบบนั้นได้—นั่นไม่ใช่การเป็น สานุศิษย์เลย ดังที่ศาสดาพยากรณ์แอลมาสอน เราจะ “ยืนเป็น พยานเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ทุกเวลา และในทุกสิ่ง, และในทุกแห่ง ที่ [เรา] อยู่” (โมไซยาห์ 18:9)—ไม่ใช่ แค่บางเวลา บางแห่ง หรือเมื่อทีมของเรากำลังนำโด่ง

ไม่ว่าสถานการณ์หรือการยั่วยุหรือปัญหาเป็นเช่นไร ไม่มี สานุศิษย์ที่แท้จริงคนใดของพระคริสต์สามารถทิ้งศาสนาของเขา ไว้ที่ประตูได้

บทเรียนบทที่ 2: จงเห็นอกเห็นใจแต่ภักดีต่อพระบัญญัติ

บทเรียนบทที่ 2: จงเห็นอกเห็นใจแต่ภักดีต่อพระบัญญัติ

นั่นทำให้ข้าพเจ้านึกถึงหญิงสาวคนนั้นที่การให้ข้อคิดทาง วิญญาณ ไม่ว่าใครจะมีปฏิกิริยากับเธออย่างไร กฎนิรันดร์คือ พฤติกรรมของเราต้องสะท้อนให้เห็นความเชื่อทางศาสนาและ คำมั่นสัญญาในพระกิตติคุณของเรา ด้วยเหตุนี้วิธีที่เราตอบ สนองในสถานการณ์ใดก็ตามต้องทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ไม่ใช่ เลวร้ายลง เราจะไม่กระทำหรือตอบสนองในลักษณะที่ทำให้เรา มีความผิดมากกว่าเธออย่างในกรณีนี้

นั่นไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีความคิดเห็น เราไม่มีมาตรฐาน หรือเราไม่นำพาโดยสิ้นเชิงกับพระบัญชาจากเบื้องบนว่า “เจ้า จะ” และ “เจ้าจะไม่” แต่นี่หมายความว่าเราต้องดำเนินชีวิตตาม มาตรฐานเหล่านั้นและปกป้องพระบัญญัติเหล่านั้นอย่างชอบ- ธรรมจนสุดความสามารถของเรา ตามแบบอย่างที่พระผู้ช่วยให้ รอดทรงดำเนินพระชนม์ชีพและทรงปกป้องสิ่งเหล่านั้น พระองค์ ทรงทำสิ่งที่สมควรทำเสมอเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น—ตั้งแต่การสอน ความจริงเรื่องการให้อภัยคนบาป ไปจนถึงการชำระพระวิหารให้ สะอาด

ดังนั้นกับคนใหม่ที่เรารู้จัก เหนือสิ่งอื่นใด เราเริ่มโดยจดจำ ว่า เธอเป็นธิดาของพระผู้เป็นเจ้าและมีค่านิรันดร์ เราเริ่มโดยจดจำ ว่าเธอเป็นลูกสาวของใครบางคน เราเริ่มโดยขอบคุณที่เธอมา ร่วมกิจกรรมศาสนจักร ไม่หลีกเลี่ยงกิจกรรมนั้น สรุปคือเราพยา- ยามทำดีที่สุดในสถานการณ์นี้โดยปรารถนาจะช่วยให้เธอทำดี ที่สุดเช่นกัน

เราสวดอ้อนวอนในใจเสมอว่าอะไรคือสิ่งถูกต้องที่เราควรทำอะไรคือสิ่งถูกต้องที่เราควรพูด ในที่สุดแล้ว อะไรจะทำให้สถานการณ์นี้และเธอดีขึ้น การถามคำถามเหล่านี้และการพยายามทำสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงทำคือสิ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่าพระองค์ทรง หมายถึงเมื่อพระองค์ตรัสว่า “อย่าพิพากษาตามที่เห็นภายนอก แต่จงพิพากษาอย่างยุติธรรมเถิด” (ยอห์น 7:24)

ศาสนจักรนี้จะไม่มีวันลดระดับหลักคำ สอนตามค่านิยมทาง สังคมหรือความเหมาะสมทางการเมืองหรือเหตุผลอื่นใดทั้งหมด จุดปลอดภัยของความจริงที่ได้รับการเปิดเผยเท่านั้นคือจุดที่เรา ต้องวางเท้าไว้บนนั้นเพื่อยกอีกคนหนึ่งที่อาจรู้สึกทุกข์ใจหรือถูก ทอดทิ้ง ความเห็นอกเห็นใจและความรักของเรา—คุณลักษณะ และข้อกำหนดพื้นฐานของความเป็นชาวคริสต์—ต้อง ไม่มีวัน ถูก ตีความว่าเรารอมชอมพระบัญญัติ

เมื่อเราเผชิญสถานการณ์เช่นนั้น อาจเป็นเรื่องท้าทายและสับ- สนมาก คนหนุ่มสาวอาจถามว่า “เราไม่เชื่อว่าเราควรดำเนินชีวิต หรือประพฤติแบบนั้น แต่ทำไมเราต้องบังคับให้คนอื่นทำเหมือน เรา พวกเขาไม่มีสิทธิ์เสรีหรือ เรากำลังคิดว่าตัวเองชอบธรรม และตัดสินคนอื่น เรากำลังยัดเยียดความเชื่อให้ผู้อื่น กำลังเรียก ร้องให้ พวกเขา ทำแบบนั้นหรือไม่”

ในสถานการณ์เหล่านั้นท่านจะต้องอธิบายโดยละเอียดอ่อน ต่อความรู้สึกของผู้อื่นว่าเหตุที่เราปกป้องหลักธรรมบางข้อและ ต่อต้านบาป บางอย่าง ไม่ว่าจะพบที่ใดก็ตาม เพราะปัญหาและ กฎที่เกี่ยวข้อง ไม่ เพียงมีผลทางสังคมหรือการเมืองเท่านั้นหาก แต่มีผลนิรันดร์ด้วย แม้ไม่ประสงค์จะทำให้ผู้เชื่อต่างจากเราขุ่น เคือง แต่เราต้องมุ่งหวังมากยิ่งกว่านั้นว่าจะไม่ทำให้พระผู้เป็น เจ้าทรงขุ่นเคือง

เรื่องนี้ค่อนข้างคล้ายกับวัยรุ่นคนหนึ่งที่พูดว่า “ตอนนี้ฉันขับ รถเป็นแล้ว ฉันรู้ว่าควรจะหยุดที่ไฟแดง แต่เราต้องเป็นคนตัดสิน และพยายามให้ทุกคนหยุดที่ไฟแดงไหม ทุกคน ต้องทำอย่างที่ เราทำไหม คนอื่นไม่มีสิทธิ์เสรีอย่างนั้นหรือ พวกเขาจะต้องทำอย่างที่เราทำอย่างนั้นหรือ” ท่านต้องอธิบายว่าทำไมเราจึงหวังว่า ทุกคน จะหยุดที่ไฟแดง และท่านต้องทำอย่างนั้น โดยไม่ ดูหมิ่น คนที่ล่วงละเมิดหรือคนที่เชื่อต่างจากเราเพราะพวกเขามีสิทธิ์เสรี ทางศีลธรรมของตนเอง

มีความเชื่อหลากหลายมากในโลกนี้ และมีสิทธิ์เสรีทางศีลธรรม สำหรับทุกคน แต่ไม่มีใครมีสิทธิ์กระทำประหนึ่งว่าพระผู้เป็นเจ้า ไม่เคยตรัสเรื่องนี้ หรือประหนึ่งว่าพระบัญญัติมีความสำคัญก็ต่อ เมื่อสาธารณชนเห็นชอบ ในศตวรรษที่ 21 เราไม่สามารถหลบ หนีได้อีกแล้ว เราจะต้องต่อ สู้เพื่อให้มีกฎ สภาพการณ์ และสภาพแวดล้อมที่ยอม ให้เรานับถือศาสนาอย่างเสรี และได้รับการสนับสนุนอย่าง เป็นทางการจากรัฐบาล นี่คือ วิธีหนึ่งที่เราจะยอมทนอยู่ใน บาบิโลนแต่ไม่เป็นของบาบิโลน

ข้าพเจ้าทราบว่าในโลกที่เราหนีไม่ได้นี้ไม่มีความสามารถใด สำคัญและไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตใดยิ่งใหญ่ไปกว่าการแสดงให้ เห็นว่าเราเดินตามเส้นทางที่รอบคอบ—โดยมีจุดยืนทางศีลธรรม ตามที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประกาศไว้และกฎที่พระองค์ทรงมอบให้ แต่ทำอย่างเห็นอกเห็นใจ ด้วยความเข้าใจ และจิตกุศลอย่างมาก

บทเรียนบทที่ 3: ใช้ค่านิยมพระกิตติคุณให้เป็นประโยชน์ ต่อชุมชนและประเทศชาติ

บทเรียนบทที่ 3: ใช้ค่านิยมพระกิตติคุณให้เป็นประโยชน์ ต่อชุมชนและประเทศชาติ

มีพวกเราไม่กี่คนเป็นตำรวจหรือนักสังคมสงเคราะห์หรือผู้ พิพากษานั่งบนบังลังก์กฎหมาย แต่เราทุกคนควรเอาใจใส่ความ ผาสุกของผู้อื่นและความปลอดภัยทางศีลธรรมของชุมชมที่กว้าง ขวางของเรา เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก แห่งโควรัมอัครสาวก สิบสองพูดถึงความจำ เป็นของการที่เราต้องมีอิทธิพลต่อสังคม นอกรั้วบ้านของเราเอง ท่านกล่าวไว้ดังนี้

“นอกจากจะคุ้มครองครอบครัวเราแล้ว เราควรเป็นบ่อเกิด ของแสงสว่างในการคุ้มครองชุมชนของเราด้วย พระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่า ‘พวกท่านจงส่องสว่างแก่คนทั้งปวง เพื่อว่าเมื่อเขาทั้ง หลายได้เห็นความดีที่ท่านทำพวกเขาจะได้สรรเสริญพระบิดา ของท่านผู้สถิตในสวรรค์’…

“ในโลกที่ไม่ชอบธรรมมากขึ้นทุกวัน จำ เป็นอย่างยิ่งที่ [ต้อง พูด] กับสาธารณชนเกี่ยวกับค่านิยมความเชื่อทางศาสนา … “ความเชื่อทางศาสนาเป็นแหล่งสะสมความสว่าง ความรู้ และ ปัญญา และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคม”5

ถ้าเราไม่นำ พรพระกิตติคุณไปสู่ชุมชนและประเทศชาติของ เรา เราไม่มีทางมีตำรวจมากพอ—หรือไอแซค ฟรีสโตนมาก พอ—ที่จะบังคับให้คนประพฤติตามหลักศีลธรรมแม้จะบังคับ ได้ก็ตาม แต่นั่นบังคับไม่ได้ เด็ก ๆ ในบ้านหลังนั้นไม่มีอาหาร หรือเครื่องนุ่งห่มแต่พวกเขาเป็นบุตรและธิดาของพระผู้เป็นเจ้า มารดาผู้นั้นน่าตำหนิมากกว่าเพราะเธออายุมากกว่าและควร รับผิดชอบมากกว่านี้ แต่เธอเป็นธิดาของพระผู้เป็นเจ้าเช่นกัน สถานการณ์เช่นนั้นอาจต้องใช้ความรักแบบเข้มงวดในวิธีแบบ เป็นทางการ แม้กระทั่งทางกฎหมาย แต่เราต้องพยายามช่วย ทุกที่ทุกเวลาที่เราทำได้ เพราะเราไม่ได้ทิ้งศาสนาของเราไว้ที่ ประตู แม้ประตูบางแห่งอาจดูน่าสังเวชและขาดความรับผิดชอบ ก็ตาม

เราทำทุกอย่างไม่ได้ แต่เราทำบางอย่างได้ ในการตอบรับ การเรียกของพระผู้เป็นเจ้า ลูกหลานอิสราเอลคือผู้ตอบรับ— ครั้งนี้ไม่ใช่หนีจากบาบิโลนแต่โจมตีบาบิโลน โดยที่ไม่ไร้เดียงสา ในเรื่องนี้ เราสามารถดำเนินชีวิตตามศาสนาของเราได้อย่าง กว้างขวางและไม่สิ้นสุดจนเราพบโอกาสทุกรูปแบบให้ช่วยเหลือ ครอบครัว เป็นพรแก่เพื่อนบ้าน และคุ้มครองผู้อื่น รวมทั้งอนุชน รุ่นหลัง

สะท้อนความรักที่ท่านมีต่อพระเยซูคริสต์

สะท้อนความรักที่ท่านมีต่อพระเยซูคริสต์

พระเจ้าทรงร้องขอวิสุทธิชนยุคสุดท้ายให้เป็นเชื้อหมักขนมปัง เป็นเกลือที่ไม่มีวันหมดรสเค็ม เป็นแสงสว่างบนเนินเขาที่ไม่ถูก ถังครอบไว้ ดังนั้นจงเริ่มแสดงให้เห็น!

ถ้าเราทำอย่างถูกต้อง พูดอย่างถูกต้อง และแสดงน้ำใจเอื้อเฟื้อ ด้วยคำ พูดและการกระทำของเรา เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดทรงตัดงาน ของพระองค์ให้สั้นลงในความชอบธรรม ตรัสว่าไม่มีเวลาอีกแล้ว ในสมัยการประทานสุดท้ายนี้ และเสด็จมาในรัศมีภาพของพระองค์ เมื่อนั้นพระองค์จะทรงพบว่าเรากำลังทำสุดความสามารถ พยายาม ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ พยายามปรับปรุงชีวิตเรา ศาสนจักร และสังคมของเราอย่างดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

เมื่อพระองค์เสด็จมา ข้าพเจ้าปรารถนา อย่างยิ่ง ว่าตอนนั้น ข้าพเจ้ากำลังดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ข้าพเจ้าต้องการได้ รับความประหลาดใจนั้นขณะกำลังแผ่ขยายศรัทธาและทำความ ดี ข้าพเจ้าต้องการให้พระผู้ช่วยให้รอดตรัสกับข้าพเจ้าว่า “เจฟฟรีย์ เราจำ เจ้าได้ไม่ใช่เพราะฐานันดรของเจ้า แต่เพราะชีวิตเจ้า วิธีที่เจ้า พยายามดำเนินชีวิตและมาตรฐานที่เจ้าพยายามปกป้อง เราเห็น ความสุจริตในใจเจ้า เรารู้ว่าสำคัญที่สุดอันดับแรกคือเจ้าพยายาม ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นด้วยการเป็นคนที่ดีขึ้น จากนั้นจึงประกาศถ้อย คำของเราและปกป้องพระกิตติคุณของเราต่อผู้อื่นด้วยความเห็นอก เห็นใจมากที่สุดเท่าที่เจ้าทำได้”

พระองค์จะตรัสอย่างแน่นอนว่า “เรารู้ว่าเจ้าไม่ประสบความ สำเร็จเสมอไปด้วยบาปของเจ้าและสภาพการณ์ของผู้อื่น แต่เรา เชื่อว่าเจ้าได้พยายามอย่างสัตย์ซื่อ เราเชื่อว่าเจ้ารักเราอย่างแท้ จริงในใจเจ้า”

ข้าพเจ้าต้องการให้สิ่งคล้ายกันนี้เกิดขึ้นสักวันเหนือสิ่งอื่นใดใน ชีวิตมรรตัยนี้ ข้าพเจ้าต้องการให้เกิดขึ้นกับท่าน ต้องการให้เกิด ขึ้นกับเราทุกคน “อิสเร็ล อิสเร็ล พระเป็นเจ้าเรียก”6 —เรียกเราให้ ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เป็นส่วนตัวในวิธี เล็ก ๆ น้อย ๆ และวิธีใหญ่โต แสดงน้ำ ใจต่อคนที่อาจมีท่าทาง แต่งกาย หรือประพฤติไม่เหมือนเรา และจากนั้น (เมื่อทำได้) ไป รับใช้สังคมที่กว้างที่สุดเท่าที่เราจะสามารถมีอิทธิพลได้

ข้าพเจ้ารักพระเจ้าพระเยซูคริสต์ ข้าพเจ้ากำลังพยายามเป็น ผู้รับใช้ของพระองค์ และข้าพเจ้ารักพระบิดาบนสวรรค์ของเรา ผู้ทรงห่วงใยมากพอจะประทานพระองค์แก่เรา เกี่ยวกับของประทาน ดังกล่าว ข้าพเจ้าทราบว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงกำลังเรียกอิสราเอลใน ยุคสุดท้ายนี้ให้เป็นเหมือนพระคริสต์มากขึ้นและบริสุทธิ์มากขึ้นใน ความตั้งใจของเราว่าจะดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณและสถาปนา ไซอัน ข้าพเจ้ารู้เช่นกันว่าพระองค์จะประทานความเข้มแข็งและ ความบริสุทธิ์ให้เราเพื่อจะเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงถ้าเราวิงวอนขอ

อ้างอิง
1. ดูเพอร์รีย์มิลเลอร์, Errand into the Wilderness (1956), 2–3.
2. “สิทธิชนมา,” เพลงสวด, บทเพลงที่ 17.
3. บริคัม ยังก์, ใน เจมส์ เอส. บราวน์, Life of a Pioneer: Being the Autobiography of James S. Brown(1900), 121.
4. ไอแซค ฟรีสโตน, ประสบการณ์ที่บอกเล่ากับผู้เขียน,5 พ.ค., 2012. 5. เควนทิน แอล.คุก, “จงมีแสงสว่าง!” เลียโฮนา, พ.ย.2010, 34, 35. ภาพเมือง โดย
6. “อิสเร็ลอิสเร็ล พระเป็นเจ้าเรียก,” เพลงสวด, บทเพลงที่ 6.

อ้างอิง